วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

    ในการเรียนการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา ต้องมีการพูดคุย บอกความต้องการ ความรู้สึก และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระระหว่างกัน  เพื่อให้เกิดประสบการณ์และความรอบรู้
      ดังนั้น หลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้ส่ง ข้อมูลข่าวสาร สื่อกลางหรือช่องทางการสื่อสารและผู้รับ เพื่อให้ผู้รับ รับรู้ข้อมูลข่าวสารถูกต้องและเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่งนั้นเอง
    การสื่อสารข้อมูล หมายถึง  การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังผู้รับการสื่อสารข้อมูลจึงประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ  4  ส่วนดังนี้
    1.  ผู้ส่ง
-  เป็นสิ่งหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารออกไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ  ซึ่งอาจเป็นบุคคลหรืออุปกรณ์  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  โทรศัพท์  เป็นต้น
    2.  ข้อมูลข่าวสาร
-  เป็นสิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปให้ผู้รับที่อยู่ปลายทางซึ่งอาจเป็นเสียง  ข้อความหรือภาพ  เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
    3.  สื่อกลาง  หรือช่องทางการสื่อสาร
-  เป็นสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้โดยสะดวก  ซึ่งมีหมายรูปแบบ  ดังนี้
     - สายสัญญาณชนิดต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายเคเบิล เส้นใยแก้วนำแสง เป็นต้น
     - คลื่นสัญญาณชนิดต่างๆ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นแสง คลื่นอินฟาเรด เป็นต้น
     - อุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ เช่น เสาอากาศวิทยุ เสาอากาศโทรทัศน์ ดาวเทียม เป็นต้น
    4.  ผู้รับ
-  เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่ง ซึ่งผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุ เป็นต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
       เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน  โดยอาศัยสื่อกลางหรือช่องทางการสื่อสารข้อมูล  เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และใช้ทรัพยากรของระบบ  ได้แก่  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ   ร่วมกันโดยมีองค์ประกอบดังนี้
     1.คอมพิวเตอร์แม่ข่าย
-  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากรต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์ ข้อมูล เป็นต้น
    2.ช่องทางการสื่อสาร
-  เป็นสื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่านในการรับ-ส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล ซึ่งมีหลายประเภท เช่น สายโทรศัพท์ แบบสายบิดคู่ตีเกลียวชนิดมีฉนวนหุ้ม และไม่มีฉนวนหุ้ม สายโคแอ็กเซียล   เส้นใยแก้วนำแสง เป็นต้น
     3.สถานีงาน
-  เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับบริการจากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเรียกได้ว่าเครื่องลูกข่าย ที่มีทั้งแบบมีหน่วยประมวลผลของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยจอภาพ และแผงแป้นอักขระ
     4.อุปกรณ์สื่อสารระหว่างเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-  เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายชนิดเดียวกันและต่างชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อทำการรับส่งข้อมูลข่าวสาร เช่น เครือข่าย โมเด็ม ฮับ เป็นต้น

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายท้องถิ่น



    2.เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายระดับเมือง


    3.เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายระดับประเทศ

   4.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต


   5.เครือข่ายไวร์เลสแลนหรือเครือข่ายแบบไร้สาย
เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
      เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานมากที่สุด คือ เครือข่ายแลน ซึ่งเครือข่ายแลนนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องรับ-ส่ง ข้อมูลระหว่างกันได้ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันด้วยสาเหตุนี้จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น วิธีการเชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ เพื่อลดความยุ่งอยากในการเชื่อมโยงสายสัญญาณด้วยการใช้จำนวนสายสัญญาณน้อย โดยเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลนที่น่าสนใจมี ดังนี้


1.  อินเทอร์เน็ต


2.โทเค็นริง

3.สวิตชิง

4.ไฮเบริด



ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    1.เกิดการใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน
- โดยในเครือข่ายจะมีเครื่องให้บริการข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้ใช้บริการขอดูข้อมูล และปรับปรุงข้อมูลได้ทันที
    2.เกิดการแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย
-  โดยผู้ใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน สามารถใช้อุปกรณ์ เช่น เครื่องพิมพ์ โทรสาร ฮาร์ดดิสก์ โมเด็ม เครื่องกราดตรวจร่วมกันได้ จึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์สำนักงานได้อีกทางหนึ่ง
    3.เกิดการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในเครือข่าย
-  โดยเมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะสามารถฝากความคิดเห็นหรือคำถาม คำตอบ ไวบนกระดานสนทนาส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถึงกัน สนทนาผ่านซอฟต์แวร์ต่างๆ ประชุมทางไกล เรียนทางไกล โอนย้ายข้อมูล โอนเงิน ติดต่อธุรกิจ และสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ได้
    4.ช่วยลดปริมาณการใช้ขยะในหน่อยงาน
-  โดยเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเกี่ยวกับเอกสาร และสื่อประสมต่างๆ รวมทั้งรับ-ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายภายในหน่วยงาน จะช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษและค่าใช้จ่ายในการซิ้อกระดาษ
   5.ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
-  โดยเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารถึงกันได้ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ ซอฟต์แวร์สนทนา และ สืบค้นข้อมูลต่างๆ จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้มาก
สรุป
หลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูล
เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสาร ผู้รับสารสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ถูกต้อง เกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่งสาร ผ่านสื่อกลางหรือช่องทางการสื่อสาร

การสื่อสารข้อมูล
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่่อสารข้อมูล หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งสาร ผ่านสื่อกลางไปยังผู้รับสาร

องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งสาร ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารออกไป ยังจุดหมายปลายทางคือผู้รับสาร
2. ข้อมูลข่าวสาร เป็นสิ่งทีผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับสารที่อยู่ปลายทาง อาจเป็นเสียง ข้อความ รูปภาพ สัญลักษณ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
3. สื่อกลาง/ช่องทางการสื่อสาร เป็นสิ่งทีช่วยให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
– สายสัญญาณชนิดต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายเคเบิล เส้นใยแก้วนำแสง
– คลื่นสัญญาณชนิดต่างๆ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟาเรด

4. ผู้รับสาร ทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากผู้ส่งสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น